แชร์

เปิด 4 ท่า ท้ามนุษย์ตึง หมั่นทำ ก่อนกลายเป็นโรคเรื้อรัง

อัพเดทล่าสุด: 10 ก.ค. 2024
102 ผู้เข้าชม

บ่อยครั้งที่ชาวออฟฟิศมักจะทำพฤติกรรมเดิมซ้ำๆ ทุกวันจนเป็นความเคยชิน จนเมื่อวันหนึ่งพบว่า คอ ไหล่ บ่า หลัง มีอาการปวดรวดร้าว ไม่ว่านวดแค่ไหนก็ไม่คลายหายปวดและกลับมาเป็นซ้ำอีก บางคนถึงขนาดใช้ชีวิตเหมือนเดิมไม่ได้ และนี่เองคือการก้าวเข้าสู่ภาวะเรื้อรังของโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

ปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคออฟฟิศซินโดรมมาพบแพทย์ในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 และเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุลดลงเรื่อยๆ บางคนแค่ 20 ต้นๆ ก็ต้องมาพบหมอด้วยโรคนี้แล้ว แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่เรื่องไกลตัว และใครก็เป็นได้ แต่ก็ใช่ว่าจะรักษาหรือทำให้หายไม่ได้ แค่ทุกคนต้องพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมเดิมที่เคยทำแบบผิดท่าผิดทาง การจัดท่าทางนั้นสำคัญมาก พ.ต.ต.นพ.วรพล เจริญพร แพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมกระดูกและข้อ และเวชศาสตร์ป้องกัน หนึ่งในแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะมาขึ้นเวที BEM CARE 2024 Goodbye to Office Syndrome ได้ให้ข้อมูลแนะนำ 4 ท่าที่คนทำงานหรือพนักงานออฟฟิศควรหลีกเลี่ยง พร้อมท่ากายบริหารยืดเส้นง่ายๆ ก่อนจะกลายเป็นโรคเรื้อรัง

จับเม้าส์ผิด ชีวิตเปลี่ยน

มนุษย์ออฟฟิศกว่า 80 % มีการพิมพ์งานหรือจับเม้าส์ที่ผิดวิธี โดยปกติมักจะนั่งหลังค่อม มือกระดกขึ้น หรือ วางมือบนแป้นพิมพ์ที่ผิดวิธี โดยการจัดท่าทางที่ถูกต้อง ควรนั่งหลังตรง คอตรง ปรับระดับจอคอมพิวเตอร์ในอยู่ในระดับสายตา และนำหมอนมารองใต้ข้อมือเวลาพิมพ์งานหรือจับเม้าส์ เพื่อให้ข้อมือ แขนจนถึงข้อศอก ขนานเป็นเส้นตรง และหมั่นขยับร่างกาย ลุกเดิน หรือเปลี่ยนอิริยาบถไปทำอย่างอื่น ไม่ควรนั่งนานจนเกินไป เพียงเท่านี้จะลดอาการปวดเมื่อยได้

ก้มนาน คอเสื่อมได้ตั้งแต่อายุยังน้อย

ปัจจุบันเรามักจะพบเห็นการก้มกดโทรศัพท์มือถือ หรือ แท็บเล็ต ไม่ว่าจะเป็นการเดินหรือนั่งกดมือถือ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่ใช้ชีวิตอยู่กับเทคโนโลยีมากขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า การก้มคอแต่ละครั้งกระดูกต้นคอเราต้องรับน้ำหนักสูงขึ้น 6-7 เท่า และเสี่ยงต่ออาการกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท ซึ่งพฤติกรรมนี้ไม่เพียงแต่การก้มกดมือถือเท่านั้น แต่การก้มคอพิมพ์งาน เขียนอ่านหนังสือ อ่านหนังสือก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน คุณหมอวรพล ได้แนะนำท่าที่เหมาะสมว่า ตั้งคอให้ตรง หูต้องขนานกับไหล่ ไม่ยื่นไปข้างหน้า ยกมือถือขึ้นในระดับสายตา ใช้กำลังแขนแทนการก้มคอ สามารถผ่อนคลายจากการจับมือถือนานๆ ได้โดย ให้นำมือข้างใดข้างหนึ่งจับไปที่หูที่อยู่ฝั่งตรงข้ามมือ แล้วดึงศีรษะไปทางด้านเดียวกับมือที่ใช้จับหู เช่น มือซ้ายจับหูขวา ดึงไปทางด้านซ้าย นับ 1-30 และทำสลับข้างซ้ำอีกรอบ

ขับรถนาน ใช่ว่าดี

การขับรถนานๆ รถติดบนถนนวันละ 1-2 ชั่วโมง นอกจากความเครียดแล้ว ยังก่อให้เกิด Office Syndrome ได้จากท่าขับรถ เพราะเกิดการนั่ง หรือจับพวกมาลัยในทางเดิมเป็นระยะเวลานาน ซึ่งพบว่าคนที่ขับนานจะประสบปัญหาปวดบริเวณหลังล่างหรือเอวด้านล่าง ดังนั้นควรปรับเบาะในอยู่ในระยะที่เหมาะสม ไม่ห่างหรือชิดพวงมาลัยจนเกินไป ก้นติดเบาะด้านใน นั่งหลังตรง ไม่โน้มมาข้างหน้า เพราะจะทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ หากมีอาการเหนื่อยล้าให้จอดพักในพื้นที่ปลอดภัย แล้วนำมือสองมือประสานกัน จับไปที่ท้ายทอยแล้วกดลง โน้มน้ำหนักลงมาเรื่อยๆ ทำให้มีการยืดบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอ

Work from Home ก็ใช่ว่าจะหลีกเลี่ยงได้

ไม่เพียงแค่มนุษย์ออฟฟิศที่มีสิทธิ์เป็นออฟฟิศซินโดรม แต่ผู้ที่ Work from Home ก็มีโอกาสได้รับสิทธิ์นั้นเช่นกัน เพราะเป็นโรคที่เกิดจากการทำพฤติกรรมเดิม ซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน ตลอดไปจนถึงแม่บ้านที่ต้องทำงานบ้านเป็นประจำ ที่มักจะพบปัญหาบริเวณข้อมือ ไม่ว่าจะทำงานที่ไหนก็ควรมีการปรับเปลี่ยนท่า ไม่ใช้งานมือข้างเดิมเป็นระยะนาน ให้เวลาได้หยุดพัก และหมั่นออกกำลังกาย เพื่อคลายเส้น หากมีอาการปวดเมื่อยบริเวณที่ใช้งาน ให้ยื่นมือไปข้างหน้า คว่ำฝ่ามือลง กำมือให้แน่น แล้วนำมืออีกข้างกุมมือข้างที่กำมือไว้ แล้วดึงเข้าหาตัว จะช่วยยืดเส้นข้อมือถึงข้อศอกได้

อย่าชะล่าใจหากใครที่รู้ตัวว่ามีพฤติกรรม ใช้ชีวิตรูปแบบเดิมซ้ำเป็นเวลานาน เพราะจะนำไปสู่โรคฮิต กลายเป็นมนุษย์ติดมนุษย์ตึงอย่างออฟฟิศซินโดรมได้ BEM ชวนคนทำงานมาเปลี่ยนโรคฮิตให้กลายเป็นเรื่องสนุกและสุขภาพดีทุกวัน ส่งต่อวิธีการแก้ปัญหาและป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมได้ง่ายๆ กับที่งาน BEM Care 2024 Say goodbye to Office Syndrome วันที่ 11-13 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00 20.00 น. ณ MRT สถานี สวนจตุจักร ติดตามรายละเอียดได้ที่เฟซบุ๊ค BEM Bangkok Expressway and Metro

Tags :

บทความที่เกี่ยวข้อง
นาโนเทค สวทช.-สภาเภสัชกรรม-สปสช. ร่วมนำร่องผลักดันชุดตรวจคัดกรองโรคไตในร้านยา
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ร่วมกับสภาเภสัชกรรม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมมือผลักดัน ชุดตรวจคัดกรองโรคไต ที่พัฒนาและผลิตในไทยเข้าสู่ระบบ สปสช. ผ่านร้านขายยาในโครงการ
19 ธ.ค. 2024
StemCell คืออะไร  ทำไมถึงเป็นแนวทางการดูแลรักษาแห่งอนาคต
สเต็มเซลล์ (Stem Cell) คือ เซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถแบ่งตัวได้อยู่เสมออย่างไม่จำกัด โดยสามารถพัฒนาเป็นเซลล์อื่น ๆ ได้ เช่น เซลล์ผิวหนัง เซลล์เม็ดเลือด เซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เซลล์กระดูก และเซลล์ไขมันได้ตามแหล่งต้นกำเนิดที่แตกต่างกัน
7 ธ.ค. 2024
BMHH  พร้อมเปิดนวัตกรรมทางเลือกใหม่ dTMS รักษาโรคซึมเศร้า
BMHH เปิดนวัตกรรมการรักษาโรคซึมเศร้าล่าสุดด้วย dTMS (Deep Transcranial Magnetic Stimulation ที่ศูนย์โรคซึมเศร้าแบบครบวงจร (Comprehensive Depression Center) ให้บริการที่ครอบคลุมทุกมิติ
4 พ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy