แชร์

อายุน้อยก็เสี่ยงนะ สังเกตสัญญาณโรคหลอดเลือดสมองในหนุ่ม-สาว Stoke in the young

อัพเดทล่าสุด: 1 พ.ค. 2024
116 ผู้เข้าชม

ปัจจุบันเราเริ่มพบว่า ผู้ป่วยเป็น STROKE พบได้ในผู้ที่มีอายุน้อยลงในจำนวนที่มากขึ้น โดยเกิดกับผู้ที่อายุต่ำกว่า 45 ปี และจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขไทยระบุว่า ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2566 ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากถึง 349,126 ราย เสียชีวิต 36,214 ราย ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี ซึ่งปกติแล้วโรคนี้มักจะเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ทุกเพศทุกวัย แต่ในปัจจุบันพบได้มากกับผู้ที่มีอายุ 18-50 ปี ในประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้นกว่าเมื่อก่อน เรียกว่า โรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย (stroke in the young) โดยมีสาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองมากกว่าคนอายุมาก ปัจจุบันเราเริ่มพบว่า ผู้ป่วยเป็น STROKE พบได้ในผู้ที่มีอายุน้อยลงในจำนวนที่มากขึ้น โดยเกิดกับผู้ที่อายุต่ำกว่า 45 ปี และจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขไทยระบุว่า ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2566 ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากถึง 349,126 ราย เสียชีวิต 36,214 ราย ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี ซึ่งปกติแล้วโรคนี้มักจะเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ทุกเพศทุกวัย แต่ในปัจจุบันพบได้มากกับผู้ที่มีอายุ 18-50 ปี ในประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้นกว่าเมื่อก่อน เรียกว่า โรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย (stroke in the young) โดยมีสาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองมากกว่าคนอายุมาก 

พญ. จิรัชญา ดีสุวรรณ อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพญาไท 2 เผยถึงสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย มักมาจากผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ผู้ที่สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย มีภาวะเครียด และโรคอ้วน  

3 ปัจจัยสำคัญที่อาจก่อให้เกิดโรคสมองในคนอายุน้อย 

1. หัวใจผิดปกติ สามารถแบ่งย่อยได้เป็น

โครงสร้างของหัวใจผิดปกติ ที่พบบ่อยคือ มีรูรั่วที่ผนังกั้นห้องหัวใจแต่กำเนิด (patent foramen ovale) 

หัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น atrial fibrillation, atrial flutter, heart block เป็นต้น

2. สาเหตุจากหลอดเลือดผิดปกติ สามารถแบ่งย่อยเป็น 

 โครงสร้างหลอดเลือดสมองผิดปกติ (vasculopathy) เช่น โรคโมยาโมยา, ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง

หลอดเลือดอักเสบ (vasculitis) มักเป็นผลมาจากโรคทางภูมิคุ้มกันผิดปกติ (autoimmune disease) เช่น SLE  โรคแพ้ภูมิตัวเอง เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดการอักเสบและอาการผิดปกติในอวัยวะต่างๆของร่างกาย

3. สาเหตุจากการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (hypercoagulable state) โดยมักสัมพันธ์กับโรคทางภูมิคุ้มกันผิดปกติ     (autoimmune disease) หรือโรคมะเร็ง เป็นต้น 

สังเกตุสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย (stroke in the young) 

BEFAST สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง

B = Balance เดินเซ เวียนศีรษะ บ้านหมุนฉับพลัน 

E = Eyes ตาพร่ามัว มองไม่เห็น เห็นภาพซ้อนฉับพลัน

F = Face Dropping ใบหน้าชาหรืออ่อนแรง ยิ้มแล้วมุมปากตก

A = Arm Weakness แขนขาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง กำมือไม่ได้

S = Speech Difficulty ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดลำบาก พูดไม่ได้ พูดไม่ออก

T =Time to call รีบโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่และนำส่งโรงพยาบาลทันที

วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรคสมองในวัยทำงาน 

ตรวจวัดความดันเลือดอย่างสม่ำเสมอ และควบคุมให้อยู่ในระดับปกติ- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์ปกติ ลดน้ำหนักเมื่อเริ่มสูงเกินเกณฑ์

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เลือกรับประทานอาหาร โดยลดอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวสูง และทานผักผลไม้ให้มากขึ้น

ลดการดื่มแอลกอฮอล์

หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติด

ตรวจสุขภาพเป็นประจำปีทุกปี 

การรักษานั้นแตกต่างไปตามสาเหตุการเกิด และความรุนแรงของโรค ดังนั้นส่วนสำคัญในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย (stroke in the young) คือการหาสาเหตุโดยละเอียด อย่างรวดเร็ว และครอบคลุมโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง ก็จะช่วยลดโอกาสที่จะพิการหรือเสียชีวิตได้ลดลงมากเท่านั้น

รักใคร ห่วงใคร อย่าลืมดูแลสมองให้กันและกัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพญาไท 2 ชั้น 4 อาคาร A โทร.02-617-2444 ต่อ 4484, 7451 หรือ Phyathai call center 1772 (ตลอด 24 ชั่วโมง) Line : https://lin.ee/EVAZIJQ , Inbox Facebook : http://m.me/Phyathai2HospitaI 



บทความที่เกี่ยวข้อง
นาโนเทค สวทช.-สภาเภสัชกรรม-สปสช. ร่วมนำร่องผลักดันชุดตรวจคัดกรองโรคไตในร้านยา
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ร่วมกับสภาเภสัชกรรม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมมือผลักดัน ชุดตรวจคัดกรองโรคไต ที่พัฒนาและผลิตในไทยเข้าสู่ระบบ สปสช. ผ่านร้านขายยาในโครงการ
19 ธ.ค. 2024
StemCell คืออะไร  ทำไมถึงเป็นแนวทางการดูแลรักษาแห่งอนาคต
สเต็มเซลล์ (Stem Cell) คือ เซลล์ต้นกำเนิดที่มีความสามารถแบ่งตัวได้อยู่เสมออย่างไม่จำกัด โดยสามารถพัฒนาเป็นเซลล์อื่น ๆ ได้ เช่น เซลล์ผิวหนัง เซลล์เม็ดเลือด เซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เซลล์กระดูก และเซลล์ไขมันได้ตามแหล่งต้นกำเนิดที่แตกต่างกัน
7 ธ.ค. 2024
BMHH  พร้อมเปิดนวัตกรรมทางเลือกใหม่ dTMS รักษาโรคซึมเศร้า
BMHH เปิดนวัตกรรมการรักษาโรคซึมเศร้าล่าสุดด้วย dTMS (Deep Transcranial Magnetic Stimulation ที่ศูนย์โรคซึมเศร้าแบบครบวงจร (Comprehensive Depression Center) ให้บริการที่ครอบคลุมทุกมิติ
4 พ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy