แชร์

รู้จัก Deductible VS Copayment เรื่องควรรู้ ก่อนทำประกันสุขภาพออนไลน์

อัพเดทล่าสุด: 6 มี.ค. 2025
72 ผู้เข้าชม

ในวันที่เงื่อนไขการต่ออายุ Copayment กำลังจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป  สำหรับผู้ที่สนใจการทำประกันสุขภาพ อาจต้องทำความเข้าใจ 2 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับความรับผิดชอบ 2 แบบที่มีผลต่อการเคลมประกันของผู้เอาประกันภัย ซึ่งอาจมีความคล้ายกันในความต่าง คือ ความรับผิดชอบส่วนแรก (Deductible) และ เงื่อนไขการต่ออายุแบบ Copayment  และหากใครมีความกังวล กรุงเทพประกันชีวิต มีแบบประกันสุขภาพที่คุ้มครองครอบคลุมก่อน Copayment มีผลบังคับโดยสามารถสมัครทางออนไลน์ง่ายๆ ไม่ต้องตรวจสุขภาพ

ประกันสุขภาพแบบ Deductible VS Copayment ต่างกันอย่างไร

ก่อนที่จะมีการนำเรื่อง Copayment มาใช้กับประกันสุขภาพนั้น ธุรกิจประกันชีวิตได้มีการพัฒนาแบบประกันสุขภาพที่ผู้ถือกรมธรรม์ต้องมีส่วนร่วมในค่าใช้จ่ายสุขภาพที่เกิดขึ้นด้วย นั่นคือ แบบประกันสุขภาพแบบ Deductible หรือที่เรียกกันว่า ประกันสุขภาพแบบรับผิด(ชอบ)ส่วนแรก

1.ประกันสุขภาพแบบมีความรับผิดส่วนแรก (Deductible)

แบบประกันแบบ Deductible มีลักษณะที่ผู้ถือกรมธรรม์จะเป็นผู้รับผิดชอบเงินค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพส่วนแรกก่อนบริษัทประกันทุกครั้งที่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ความรับผิดชอบส่วนแรกเป็นไปตามข้อตกลงที่ผู้ถือกรมธรรม์เป็นผู้เลือกและกำหนดไว้ในกรมธรรม์ตั้งแต่แรก เช่น เลือกรับผิดชอบส่วนแรก 30,000 บาท เป็นต้น ผู้ถือกรมธรรม์จึงมีส่วนร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันแรกที่กรมธรรม์มีผลบังคับ และบริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือตามความคุ้มครองของกรมธรรม์ฉบับนั้น

2. ประกันสุขภาพแบบมีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment)

ขณะที่แบบประกันแบบ Copayment คือประกันที่ผู้ถือกรมธรรม์ร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกัน แต่จะใช้การกำหนด สัดส่วนของค่าใช้จ่าย ที่ผู้ถือกรมธรรม์จะมีส่วนร่วมรับผิดชอบ


ทำความรู้จัก Copayment  เงื่อนไขต่ออายุใหม่ของประกันสุขภาพ

เงื่อนไขต่ออายุ Copayment เป็นการเพิ่มเงื่อนไขในปีต่ออายุกับแบบประกันสุขภาพมาตรฐาน และการร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจะเกิดขึ้นเมื่อเข้าเงื่อนไข Copayment ที่กำหนดไว้ โดยมีผลบังคับกับผู้ถือกรมธรรม์แต่ละราย ขณะที่ผู้ถือกรมธรรม์คนอื่นๆ ที่ไม่เข้าเงื่อนไขที่กำหนดจะยังคงได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์เช่นเดิมต่อไป จึงต่างจากแบบประกันแบบ Deductible ที่ผู้ถือกรมธรรม์ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบตั้งแต่ต้น

เงื่อนไขต่ออายุแบบ Copayment ที่กำลังจะนำมาใช้กับประกันสุขภาพมาตรฐาน จะระบุอยู่ในกรมธรรม์ฯ ของแบบประกันสุขภาพมาตรฐานที่มีผลเริ่มบังคับตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป โดยมีผลทั้งแบบประกันสุขภาพที่มีจำหน่ายในปัจจุบันและในแบบประกันใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเฉพาะกรมธรรม์ที่มีพฤติกรรมการเคลมที่เข้าเงื่อนไขต่ออายุแบบ Copayment จะต้องร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามเงื่อนไขในปีถัดไป การร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจึงมีผลเมื่อมีการต่ออายุในปี 2569 และจะพิจารณาการเข้าเงื่อนไข Copayment อีกครั้งสำหรับการต่ออายุในปี 2570 และปีต่อๆ ไป 

สำหรับผู้ถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่มีผลบังคับก่อน 20 มีนาคม 2568 นั้นไม่ได้มีการใส่เงื่อนไข Copayment ในกรมธรรม์ จึงยังคงเป็นไปตามกรมธรรม์ตลอดระยะเวลาที่กรมธรรม์ให้ความคุ้มครอง อย่างไรก็ตามกรมธรรม์เหล่านี้มีโอกาสที่จะสิ้นสุดความคุ้มครอง ถ้าไม่มีการชำระเบี้ยภายใน 90 วัน ตั้งแต่วันครบกำหนดชำระเบี้ย ผู้ถือกรมธรรม์จึงไม่ควรปล่อยให้กรมธรรม์เหล่านี้ขาดอายุ

 

กรมธรรม์ประกันสุขภาพอะไรบ้างที่มีเงื่อนไขต่ออายุแบบ Copayment

1. กรมธรรม์ประกันสุขภาพมาตรฐานที่เริ่มคุ้มครอง ตั้งแต่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป จะมีเงื่อนไขการต่ออายุแบบ Copayment ระบุในกรมธรรม์ โดยจะมีเกณฑ์การเข้าเงื่อนไขต่ออายุ Copayment ระบุไว้อย่างชัดเจน

2. กรมธรรม์ประกันสุขภาพมาตรฐานทั้งหมด ที่ขาดอายุเกิน 90 วัน และขอต่ออายุโดยปรับวันที่เริ่มคุ้มครองใหม่ ตั้งแต่ 20 มีนาคม 2568

หลักเกณฑ์การเข้าเงื่อนไขมีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) ในปีต่ออายุ

เงื่อนไขที่ 1 การเคลมผู้ป่วยใน (IPD) สำหรับการเจ็บป่วยเล็กน้อย (Simple Diseases)

กรณีผู้เอาประกันภัยมีการเรียกร้องผลประโยชน์ผู้ป่วยในจากการป่วยเล็กน้อยทั่วไป (Simple Diseases) ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปในรอบปีกรมธรรม์ และ มีอัตราการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากสาเหตุข้างต้นภายใต้สัญญาเพิ่มเติมฉบับนี้ ตั้งแต่ 200% ของเบี้ยประกันสุขภาพขึ้นไป= จ่ายร่วม 30% ของค่าใช้จ่ายที่ได้รับความคุ้มครองในปีถัดไป

เงื่อนไขที่ 2 การเจ็บป่วยโรคทั่วไป (ไม่รวมโรคร้ายแรงและการผ่าตัดใหญ่)

กรณีผู้เอาประกันภัยมีการเรียกร้องผลประโยชน์ผู้ป่วยในที่ไม่ใช่โรคร้ายแรง, การผ่าตัดใหญ่ และการป่วยเล็กน้อยทั่วไป (Simple Diseases) ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปในรอบปีกรมธรรม์ และ มีอัตราการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากสาเหตุข้างต้นภายใต้สัญญาเพิ่มเติมฉบับนี้ ตั้งแต่ 400% ของเบี้ยประกันสุขภาพขึ้นไป= จ่ายร่วม 30% ของค่าใช้จ่ายที่ได้รับความคุ้มครองในปีถัดไป

เงื่อนไขที่ 3 หากการเคลมเข้าเงื่อนไข ทั้งในเงื่อนไขที่ 1 และ เงื่อนไขที่ 2

กรณีผู้เอาประกันภัยมีการเรียกร้องผลประโยชน์ผู้ป่วยในที่เข้าเงื่อนไข ทั้งในเงื่อนไขที่ 1 และ เงื่อนไขที่ 2= จ่ายร่วม 50% ของค่าใช้จ่ายที่ได้รับความคุ้มครองในปีถัดไป

โดยการเข้าเงื่อนไข Copayment จะมีการพิจารณาทุกรอบปีกรมธรรม์ ขึ้นกับอัตราการเคลมทั้ง 3 กรณีในปีนั้นๆ หากปีไหนที่ไม่เข้าเงื่อนไข ผู้ถือกรมธรรม์ก็จะสามารถกลับไปจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพในอัตราปกติได้

อุ่นใจในทุกจังหวะชีวิต ด้วยประกันสุขภาพออนไลน์ จากกรุงเทพประกันชีวิต

ปัจจุบัน กรุงเทพประกันชีวิตมีแบบประกันสุขภาพออนไลน์ที่ตอบโจทย์ความคุ้มครองครอบคลุม ซึ่งก็คือ ประกันสุขภาพออนไลน์ บีแอลเอ คอมพลีท เฮลธ์  ที่ซื้อง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ


จุดเด่นความคุ้มครอง

- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 5,000,000 บาทต่อครั้ง1 ไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อปี

- ครอบคลุมค่าห้องพักเดี่ยวราคาเริ่มต้นของโรงพยาบาล1

- กรณีเข้าพักรักษาตัวจากโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง รับผลประโยชน์รวมสูงสุดเพิ่มเป็น 5,500,000 บาท1

- เมื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง 1 ใน 20 โรค เป็นครั้งแรก รับ 100,000 บาท

- อายุผู้รับประกันภัย 20 - 65 ปี สามารถซื้อให้ตัวเองและคนที่รักได้ โดยเลือกจ่ายเบี้ยได้ทั้งแบบรายเดือนและรายปี

สำหรับใครที่กังวลเงื่อนไขต่ออายุแบบ Copayment ขอแนะนำซื้อประกันสุขภาพไว้ก่อน เพื่อให้กรมธรรม์ประกันสุขภาพมีผลบังคับก่อน 20 มีนาคม 2568 สามารถกดซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย สะดวก ไม่ต้องตรวจสุขภาพ >> https://bla.bangkoklife.com/cphprarticle

1 สำหรับแผนความคุ้มครอง 3- โปรดทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง


บทความที่เกี่ยวข้อง
กรุงเทพประกันภัยจัดประชุมตัวแทนและนายหน้าบุคคล ประจำปี 2568 ภายใต้แนวคิด Unlocking Excellence
บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) จัดประชุมตัวแทนและนายหน้าบุคคล ประจำปี 2568 ภายใต้แนวคิด Unlocking Excellence ปลดล็อกความสำเร็จสู่ความเป็นเลิศในทุกๆ ด้าน
3 เม.ย. 2025
แอกซ่าประกันภัย เปิดตัวแผนประกันภัยการเดินทางใหม่ล่าสุด AXA Smart Traveller’s Choice ยกระดับมาตรฐานใหม่ของการคุ้มครองขณะท่องเที่ยว
แอกซ่าประกันภัย เปิดตัวประกันภัยการเดินทางใหม่ล่าสุด AXA Smart Travellers Choice พร้อมรุกตลาดประกันภัยไทยผ่านนวัตกรรมของแผนประกันภัยการเดินทาง
3 เม.ย. 2025
คปภ. แถลงการณ์ร่วม 6 องค์กร ยืนยันภาคการเงิน-อุตสาหกรรม-ตลาดทุน ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว  ย้ำด้านการประกันภัยทำงานเชิงรุก พร้อมเบิกจ่ายสินไหมรวดเร็ว-เป็นธรรม
คปภ. สภาวิศวกร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้จัดแถลงการณ์ร่วม ณ หอประชุมศุกรีย์ แก้วเจริญ ชั้น 3 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อนำเสนอข้อมูลที่ครบถ้วนและรอบด้านในทุกมิติ เกี่ยวกับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568
3 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy