แชร์

ทีทีบี ฟินทิป ชวนมารู้จัก “Easy e-Receipt 2.0” ให้มากขึ้น ให้คุณวางแผนใช้สิทธิลดหย่อนอย่างคุ้มค่า

อัพเดทล่าสุด: 18 ก.พ. 2025
63 ผู้เข้าชม

มารู้จัก! โครงการช้อปลดหย่อนภาษี Easy e-Receipt 2.0 ปี 2568 ให้มากขึ้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศของรัฐบาล ซึ่งขยายผลจาก "Easy e-Receipt" ของปี 2567 ยิ่งซื้อมากก็ยิ่งได้ลดหย่อนมากที่โดนใจสายช้อปปิ้ง และเป็นหนึ่งในตัวช่วยของคนที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงต้นปี 2569 fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จะพาไปรู้จักโครงการและเงื่อนไข พร้อมแนะนำวิธีใช้สิทธิประโยชน์ให้คุ้มค่า มารู้จัก! โครงการช้อปลดหย่อนภาษี Easy e-Receipt 2.0 ปี 2568 ให้มากขึ้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศของรัฐบาล ซึ่งขยายผลจาก "Easy e-Receipt" ของปี 2567 ยิ่งซื้อมากก็ยิ่งได้ลดหย่อนมากที่โดนใจสายช้อปปิ้ง และเป็นหนึ่งในตัวช่วยของคนที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงต้นปี 2569 fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จะพาไปรู้จักโครงการและเงื่อนไข พร้อมแนะนำวิธีใช้สิทธิประโยชน์ให้คุ้มค่า 

โครงการ Easy e-Receipt 2.0 เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568 โดยผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการซื้อสินค้าและบริการตามเงื่อนไขที่ได้จ่ายจริงสูงสุด 50,000 บาท มาใช้ลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งหลักฐานที่ใช้ต้องเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt)  ของกรมสรรพากรเท่านั้น  

เงื่อนไขการช้อปลดหย่อนภาษีปี 2568 มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม ดังนี้

1. ค่าใช้จ่ายในร้านค้าทั่วไป

ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือจากผู้มิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท

2. ค่าใช้จ่ายในวิสาหกิจชุมชนหรือร้านค้า OTOP

- ซื้อสินค้าหรือบริการที่หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท ในกรณีที่ใช้จ่ายตามเงื่อนไข ดังนี้

- ซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร

- ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม

สินค้าและบริการที่เข้าร่วมโครงการ Easy e-Receipt 2.0 มีอะไรบ้าง อะไรใช้ลดหย่อนได้

สินค้าและบริการทั่วไป เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือของใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสารทั้งแบบเล่มและอีบุ๊ก ซึ่งซื้อจากร้านค้า ห้างสรรพสินค้า หรือซูเปอร์มาร์เก็ตที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ ผ่านระบบ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น หากเป็นร้านค้าอื่น ๆ ให้มองหาสัญลักษณ์ Easy e-Receipt ที่หน้าร้านค้า โดยตรวจสอบร้านค้าที่เข้าร่วมได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร  https://etax.rd.go.th/ETAXSEARCH/normal_person.html

โทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์ IT

ค่าหนังสือ, หนังสือพิมพ์, นิตยสาร, E-Book และสินค้า OTOP

ทองคำรูปพรรณ นำมาหักลดหย่อนได้เฉพาะค่ากำเหน็จเท่านั้น เพราะทองคำไม่ต้องเสียภาษี

ค่าซ่อมรถ เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เข้าศูนย์ เปลี่ยนยางรถยนต์ หรืออุปกรณ์แต่งรถ นำมาหักลดหย่อนได้

แม้ว่าเราจะสามารถซื้อสินค้าได้เกือบทุกประเภท เพื่อนำมาลดหย่อนภาษีได้ แต่จะมีสินค้าและบริการบางประเภทที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการ เช่น ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์ ค่าซื้อยาสูบ ค่าซื้อน้ำมัน ค่าซื้อก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ เป็นต้น 

ลดหย่อนภาษีจริงเท่าไหร่ และประหยัดภาษีไปเท่าไหร่

หลายคนก็จะมีคำถามว่า หากได้ใช้จ่ายตามสิทธิครบ 50,000 บาท แล้ว ตนเองจะได้รับเงินคืนเท่าไหร่ จากการเข้าร่วมโครงการนี้ บอกก่อนว่า เนื่องจากการคำนวณภาษีลดหย่อนนั้น ขึ้นอยู่กับฐานการเสียภาษีและรายได้ของแต่ละบุคคล หากผู้เสียภาษี มีการเสียภาษีต่อปีที่ 35% ก็จะได้รับเงินคืนภาษีที่ 17,500 บาท แต่ถ้าหากซื้อของเกิน 50,000 บาทเราจะลดหย่อนได้สูงสุดแค่เพียง 50,000 บาทเท่านั้น ซึ่งฐานการเสียภาษีของแต่ละรายได้อื่น ๆ ตามที่กฎหมายของกรมสรรพากรกำหนด จะเป็นไปตามข้อมูลด้านล่าง ดังนี้

- อัตราการเสียภาษี 35% เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 50,000 บาท จะได้เงินคืนภาษี (50,000 x 35%) = 17,500 บาท

- อัตราการเสียภาษี 20% เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 50,000 บาท จะได้เงินคืนภาษี (50,000 x 20%) = 10,000 บาท

- อัตราการเสียภาษี 5% เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 50,000 บาท จะได้เงินคืนภาษี (50,000 x 5%) = 2,500 บาท

กรณีซื้อสินค้าและบริการ ไม่ถึง 50,000 บาท เราสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุดตามยอดที่ได้ใช้จ่ายจริงเท่านั้น ตามตัวอย่างข้อมูลด้านล่าง

- อัตราการเสียภาษี 35% เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 30,000 บาท จะได้เงินคืนภาษี (30,000 x 35%) = 10,500 บาท

- อัตราการเสียภาษี 20% เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 30,000 บาท จะได้เงินคืนภาษี (30,000 x 20%) = 6,000 บาท

- อัตราการเสียภาษี 5% เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 30,000 บาท จะได้เงินคืนภาษี (30,000 x 5%) = 1,500 บาท


โครงการ Easy e-Receipt 2.0 ปี 2568 สามารถใช้ตัวช่วยอย่าง บัตรเครดิต ในการชำระค่าสินค้าและบริการ หรือผ่อนชำระ ทำให้เป็นเรื่องง่ายและสะดวกมากขึ้น หากอยากใช้จ่ายให้คุ้มค่ามากขึ้นและได้เงินคืนเข้าบัญชีด้วย บัตรเครดิตทีทีบี เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ตอบโจทย์การใช้จ่ายได้อย่างคุ้มค่ากับบัตรเครดิตที่ได้เงินคืน กับบัตรเครดิต ttb so smart เมื่อใช้จ่ายสินค้าหรือบริการทุกร้านค้าจะได้เงินคืน 1% เข้าบัญชี ttb no fixed สูงสุด 2,000 บาท/บัญชีบัตร/รอบบัญชี อีกทั้งยังเป็นบัตรเครดิตฟรีค่าธรรมเนียมรายปีและแรกเข้าอีกด้วย ซึ่งอาจกระตุ้นให้หลายคนใช้จ่ายมากขึ้น ควรวางแผนก่อนตัดสินใจซื้อ เลือกเฉพาะสินค้าที่จำเป็นหรือใช้งานได้คุ้มค่าในระยะยาว และพิจารณาความสามารถในการชำระคืนของตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้การใช้จ่ายเป็นประโยชน์จริงและไม่ก่อให้เกิดภาระทางการเงินในอนาคต

คลิกเพื่ออ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/fin-tips/detail/creditcard-shop-and-save-taxes-easy-e-receipt-2568 ติดตามเคล็ดลับการเงินอื่น ๆ  จาก fintips by ttb เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ คลิก https://www.ttbbank.com/link/fintips-pr


บทความที่เกี่ยวข้อง
ทีทีบี พร้อมช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ให้สามารถกลับมาตั้งหลัก และก้าวไปต่อเพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น
ทีทีบีขอแสดงความเสียใจกับผู้ประสบเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา และมีความห่วงใยลูกค้าทุกกลุ่ม เร่งให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ครอบคลุมทั้งลูกค้าบุคคล ผู้ประกอบการธุรกิจและเอสเอ็มอี
1 เม.ย. 2025
กสิกรไทยออกมาตรการเร่งด่วนดูแลลูกค้าผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว
กสิกรไทยออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ด้วยมาตรการพักชำระเงินต้น ผ่อนเฉพาะดอกเบี้ยนานสูงสุด 3 เดือน วงเงินสินเชื่อที่กู้เพิ่มได้เพื่อซ่อมแซมบ้านและสถานประกอบการ และสินเชื่ออื่นๆ
30 มี.ค. 2025
กรุงศรี SME สานต่อขับเคลื่อนความยั่งยืนและดิจิทัล ควบคู่การดูแลคุณภาพของสินทรัพย์  มุ่งเน้นใกล้ชิดลูกค้า ผ่านการให้คำปรึกษาเชิงรุก
กรุงศรี เผยกลยุทธ์กลุ่มงานลูกค้าธุรกิจ SME ในปี 2568 ยังคงสานต่อกลยุทธ์ 3GO อันประกอบด้วย GO Green, GO Digital และ GO Beyond พร้อมเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตของสินเชื่อและคุณภาพสินทรัพย์
25 มี.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy