คปภ. ให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัยแก่ผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน กรณีเครื่องบินเชจูแอร์ ไฟล์ทบินจากกรุงเทพ ไถลตกรันเวย์ในสนามบินมูอัน เกาหลีใต้
อัพเดทล่าสุด: 30 ธ.ค. 2024
74 ผู้เข้าชม
ตามที่ปรากฏเป็นข่าว กรณีอุบัติเหตุเครื่องบินสายการบินเขจูแอร์ (Jeju Air) เที่ยวบินที่ 7C 2216 ซึ่งออกเดินทางจากกรุงเทพมหานคร มุ่งหน้าสู่สนามบินมูอัน เมืองชอลลานัมโด สาธารณรัฐเกาหลี ได้ประสบเหตุไถลออกนอกรันเวย์และ ชนกำแพงในขณะลงจอด เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2567 เวลาประมาณ 09.07 น. ตามเวลาท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดการระเบิดและเพลิงไหม้อย่างรุนแรง เบื้องต้นมีผู้โดยสารและลูกเรือ รวมทั้งสิ้น 181 คน โดยมีผู้เสียชีวิตจำนวน 179 ราย ซึ่งในจำนวนนี้ได้รับการยืนยันเป็นผู้เสียชีวิตสัญชาติไทย 2 ราย
นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลและส่งเสริมธุรกิจประกันภัยของประเทศ ได้ดำเนินการเร่งตรวจสอบข้อมูลการทำประกันภัยของผู้เสียชีวิตชาวไทยในเหตุการณ์ดังกล่าว จากการตรวจสอบพบว่า ผู้เสียชีวิตคนไทย จำนวน 2 ราย คือ นางสาวจงลักษ์ ดวงมณี ได้ทำประกันชีวิตกับบริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) กรมธรรม์เริ่มความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2581 ทุนประกันชีวิตจำนวน 200,000 บาท และได้ทำประกันอุบัติเหตุและสุขภาพกับบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรมธรรม์เริ่มความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2568 ทุนประกัน 100,000 บาท สำหรับอีกราย คือ นางสาวสิริธร จะอื่อ ได้ทำประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับนักเรียนนิสิต และนักศึกษา (แบบพิเศษ) จำนวนเงินเอาประกันภัย 200,000 บาท กับบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรมธรรม์เริ่มความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2568 ซึ่งสำนักงาน คปภ. ได้ประสานบริษัทประกันภัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับทายาทของผู้เสียชีวิต เมื่อได้รับเอกสารครบถ้วนแล้ว
สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่ง ต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในเหตุการณ์ครั้งนี้ และขอร่วมไว้อาลัยต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น พร้อมยืนยันว่าหน่วยงานจะดำเนินการอย่างเต็มกำลังเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยแก่ครอบครัวผู้ประสบเหตุทุกกรณี ทั้งนี้ หากประชาชนท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ สิทธิประโยชน์จากการประกันภัย หรือต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถติดต่อ สายด่วน คปภ. 1186
นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลและส่งเสริมธุรกิจประกันภัยของประเทศ ได้ดำเนินการเร่งตรวจสอบข้อมูลการทำประกันภัยของผู้เสียชีวิตชาวไทยในเหตุการณ์ดังกล่าว จากการตรวจสอบพบว่า ผู้เสียชีวิตคนไทย จำนวน 2 ราย คือ นางสาวจงลักษ์ ดวงมณี ได้ทำประกันชีวิตกับบริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) กรมธรรม์เริ่มความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2581 ทุนประกันชีวิตจำนวน 200,000 บาท และได้ทำประกันอุบัติเหตุและสุขภาพกับบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรมธรรม์เริ่มความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2568 ทุนประกัน 100,000 บาท สำหรับอีกราย คือ นางสาวสิริธร จะอื่อ ได้ทำประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับนักเรียนนิสิต และนักศึกษา (แบบพิเศษ) จำนวนเงินเอาประกันภัย 200,000 บาท กับบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรมธรรม์เริ่มความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2568 ซึ่งสำนักงาน คปภ. ได้ประสานบริษัทประกันภัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับทายาทของผู้เสียชีวิต เมื่อได้รับเอกสารครบถ้วนแล้ว
สำนักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่ง ต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในเหตุการณ์ครั้งนี้ และขอร่วมไว้อาลัยต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น พร้อมยืนยันว่าหน่วยงานจะดำเนินการอย่างเต็มกำลังเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยแก่ครอบครัวผู้ประสบเหตุทุกกรณี ทั้งนี้ หากประชาชนท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ สิทธิประโยชน์จากการประกันภัย หรือต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถติดต่อ สายด่วน คปภ. 1186
บทความที่เกี่ยวข้อง
บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) จัดประชุมตัวแทนและนายหน้าบุคคล ประจำปี 2568 ภายใต้แนวคิด Unlocking Excellence ปลดล็อกความสำเร็จสู่ความเป็นเลิศในทุกๆ ด้าน
3 เม.ย. 2025
แอกซ่าประกันภัย เปิดตัวประกันภัยการเดินทางใหม่ล่าสุด AXA Smart Travellers Choice พร้อมรุกตลาดประกันภัยไทยผ่านนวัตกรรมของแผนประกันภัยการเดินทาง
3 เม.ย. 2025
คปภ. สภาวิศวกร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้จัดแถลงการณ์ร่วม ณ หอประชุมศุกรีย์ แก้วเจริญ ชั้น 3 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อนำเสนอข้อมูลที่ครบถ้วนและรอบด้านในทุกมิติ เกี่ยวกับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568
3 เม.ย. 2025